อาเจียน

- เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
- ปวดท้องเฉียบพลันอย่างรุนแรงหรือเป็นตะคริว
- เห็นภาพซ้อนหรือสายตาเบลอ
- เป็นลม
- รู้สึกสับสน
- เนื้อตัวเย็นและผิวซีด
- มีไข้สูงและอาการคอแข็ง เจ็บตึงที่บริเวณท้ายทอย ก้มและเงยลำบาก
- อาเจียนคล้ายกับมีกลิ่นของอุจจาระออกมาด้วย
- อาเจียนร่วมกับอาการปวดศีรษะหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- อาเจียนถี่หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง ในผู้ใหญ่ที่มากกว่า 48 ชั่วโมง ในเด็กเล็กที่อายุน้อยว่า 2 ปี มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือในเด็กทารกที่มากกว่า 12 ชั่วโมง และไม่พบอาการที่ดีขึ้น
- ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำลงไปได้ นานถึง 12 ชั่วโมง หรือในเด็กที่ไม่สามารถดื่มน้ำลงไปได้นาน 8 ชั่วโมง
- มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาโหล ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม
- อาเจียนมีสีเขียวอ่อน หรือมีสีแดงหรือสีดำปนออกมาด้วย
- กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ไส้เลื่อน อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ
- การติดเชื้อที่ไต หรือนิ่วในไต
- ปวดศีรษะไมเกรน เนื้องอกในสมอง หูชั้นในอักเสบ
- ไขสันหลังอักเสบ
- การตั้งครรภ์
- การเมารถเมาเรือ
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- การรักษาด้วยรังสีและการทำเคมีบำบัด การสัมผัสสารเคมีบางชนิด
- ความเครียดทางอารมณ์
- อุบัติเหตุจากแรงกระแทก
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน เพื่อลดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
- รับประทานขิงหรือเครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำขิง น้ำอัดลม เครื่องดื่มผสมเกลือแร่ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เป็นต้น เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) หรืออาจพบภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition) ร่วมด้วย โดยเฉพาะการอาเจียนที่มีสาเหตุมาจากปัญหาของกระเพาะอาหาร หรืออาหารเป็นพิษ ผู้ที่มีภาวะขาดน้ำสังเกตอาการได้จากการวิงเวียน ปวดศีรษะ ตาโหล ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะน้อยลง อ่อนเพลีย พบมากในเด็กและทารกเนื่องจากร่างกายมีขนาดเล็กและมีส่วนประกอบของน้ำในร่างกายน้อยกว่าในผู้ใหญ่ หากพบอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์
- อาเจียนมีสีเปลี่ยนไป หากพบว่าอาเจียนมีสีดำหรือสีแดง เนื่องจากมีเลือดปนออกมาอาจเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารหรือการระคายเคืองในลำไส้ หรืออาเจียนมีสีเขียวอ่อนเนื่องจากมีน้ำดีปนออกมาด้วย อาจเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปัญหาของระบบย่อยอาหาร
- ปวดท้องรุนแรง หรือมีไข้และอาเจียนร่วมด้วย อาจเป็นอาการที่บ่งถึงโรคไส้ติ่งอักเสบ
- การอาเจียนที่รุนแรงในทารก อาจเป็นอาการที่บ่งถึงการตีบตันของกระเพาะอาหารส่วนปลาย ซึ่งจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการลำเลียงอาหาร
- การอาเจียนหลังได้รับบาดเจ็บ เช่น การกระทบกระเทือนที่ช่องท้อง บ่งชี้ถึงการบาดเจ็บที่อวัยวะซึ่งทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
- การอาเจียนหรือปวดศีรษะร่วมด้วยหลังตื่นนอน อาจมีสาเหตุมาจากความดันสมองที่เพิ่มในระหว่างการนอนหลับ พบมากในเด็ก และพบได้ในผู้ป่วยไมเกรนหรือผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ขอบคุณที่มา https://www.pobpad.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น