ก่อนจะทานยาเพร็พ ยาเป๊ป ต้องตรวจเลือดก่อนเสมอ และตอนนี้ยังไม่สามารถรับยาได้ในร้านยา ต้องพบแพทย์รับยาตามสิทธิ์ของท่าน
ยาเพร็พ ยาเป๊ป สำหรับคนรักสนุก : ยายับยั้งการติดเชื้อ HIV ก่อน หรือหลังการสัมผัสเชื้อ
การป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อและติดเชื้อจึงเป็นวิธีการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ลดการระบาดของโรคเอดส์ และนำไปสู่การยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย ปัจจุบันงบประมาณในการแก้ปัญหาเอดส์ในประเทศไทยกว่า 70% เป็นค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษา ดังนั้นหากเราสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้สำเร็จ จะช่วยให้ประเทศไทยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลงไปได้ด้วย
การใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ทำได้ 3 ช่วงดังนี้
1. Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP) ป้องกันก่อนเสี่ยง ก่อนสัมผัสเชื้อ
2. Post-Exposure Prophylaxis (PEP) คือการให้ยาต้านให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ โดยต้องทานยาเป็นเวลา 28 วัน
3. Treatment as Prevention คือการให้ยาต้านไวรัสหลังจากติดเชื้อแล้ว เพื่อลดปริมาณเชื้อในร่างกายให้ต่ำที่สุด ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไป
ยาเพร็พ (PrEP)
ใครควรทานยาเพร็พ
1. ผู้ที่มีผลเลือดเป็นลบ แต่มีคู่ที่มีผลเลือดเป็นบวกที่ยังไม่ได้รับยาต้าน หรือยังตรวจพบไวรัสในเลือด
2. ผู้ที่เคยกินยาป้องกันเอชไอวีฉุกเฉิน
3. ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชาย สาวประเภทสอง
4. ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ
5. ผู้ใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะชนิดฉีด
6. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะที่ไม่ได้สติ (เช่น มึนเมาจากแอลกอฮอล์ และสารเสพติด) โดยตั้งใจ และโดยไม่ตั้งใจ
การทานยาเพร็พ
เราจะต้องตรวจให้แน่ใจว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีมาก่อน และมีการทำงานของตับ และไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษา เพื่อรู้วิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ทั้งการป้องกันเอชไอวี ลดความเสี่ยงและโอกาสในการติดเชื้อ รวมไปจนถึงการตรวจติดตามการรักษาและตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
เมื่อทานยาเพร็พแล้ว
การติดตามผลเลือดระหว่างทานยาเพร็พเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยผู้ที่รับยาเพร็พโดยแพทย์ไม่ว่าที่สถาบันใดก็ตาม จะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง โดยจะมีการนัดพบแพทย์ทุกๆ 3 เดือน เพื่อตรวจเลือดยืนยันว่า ไม่มีการติดเชื้อ เอชไอวี การทำงานของตับและไต ยังปกติดี และตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆเช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส ตับอักเสบ เป็นต้น
เมื่อมีเซ็กซ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย
แต่หากมีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยเกิดขึ้นซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด เราควรตรวจให้แน่ใจว่า เราและคู่นอนของเรา ไม่ว่าจะคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
เราควรสร้างบรรทัดฐานใหม่ว่า การดูแลสุขภาพทางเพศของตัวเองและคู่ของเรานั้น เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง และเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ตราบใดที่เรายังมีเพศสัมพันธ์ เราและคู่ของเราควรตรวจอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุกๆ หกเดือน เพื่อยืนยันว่า ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในกรณีที่มีเซ็กซ์โดยไม่ได้สติ หรือไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย หรือมีเซ็กซ์ครั้งละหลายๆคน ควรเปิดใจและพูดถึงการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพูดถึงการป้องกันเอชไอวี โดยการทานยาเพร็พ
หากพบว่ามีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สภากาชาด แจก “เพร็พ”Prep กินก่อน ป้องกันได้
(สปสช.) พิจารณาบรรจุเป็นชุดสิทธิประโยชน์ของประชาชน คาดว่าไม่เกิน 1 ปีครึ่ง จะรู้ผล ทั้งนี้ คาดมีกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับยาเพร็พ 1.5 แสนคน ทั้งกลุ่มชายรักชาย สาวประเภทสอง ผู้ใช้ยยาเสพติดประเภทฉีด และคู่สมรสที่มีผลเลือดต่าง
การประเมินความเสี่ยงโอกาสในการติดเชือ้ HIV โดยสถานการณ์ต่างๆ
Activity | Risk-per-exposure |
---|---|
Vaginal sex, female-to-male, studies in high-income countries | 0.04% (1:2380) |
Vaginal sex, male-to-female, studies in high-income countries | 0.08% (1:1234) |
Vaginal sex, female-to-male, studies in low-income countries | 0.38% (1:263) |
Vaginal sex, male-to-female, studies in low-income countries | 0.30% (1:333) |
Vaginal sex, source partner is asymptomatic | 0.07% (1:1428) |
Vaginal sex, source partner has late-stage disease | 0.55% (1:180) |
Receptive anal sex amongst gay men, partner unknown status | 0.27% (1:370) |
Receptive anal sex amongst gay men, partner HIV positive | 0.82% (1:123) |
Receptive anal sex with condom, gay men, partner unknown status | 0.18% (1:555) |
Insertive anal sex, gay men, partner unknown status | 0.06% (1:1666) |
Insertive anal sex with condom, gay men, partner unknown status | 0.04% (1:2500) |
Receptive fellatio | Estimates range from 0.00% to 0.04% (1:2500) |
Mother-to-child, mother takes at least two weeks antiretroviral therapy | 0.8% (1:125) |
Mother-to-child, mother takes combination therapy, viral load below 50 | 0.1% (1:1000) |
Injecting drug use | Estimates range from 0.63% (1:158) to 2.4% (1:41) |
Needlestick injury, no other risk factors | 0.13% (1:769) |
Blood transfusion with contaminated blood | 92.5% (9:10) |
ข้อสรุปของเพร็พ
- เพร็พใช้สำหรับผู้ที่มีผลเลือดลบ
- ก่อนกินเพร็พต้องมั่นใจว่าไม่ได้อยู่ในช่วงติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน
- เพร็พป้องกันได้แต่เอชไอวี ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์
- ต้องกินเพร็พ 1 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อผลในการป้องกัน และต้องกินทุกวันสม่ำเสมอ
- ระหว่างการกินเพร็พต้องมีการตรวจหาเอชไอวี และค่าไตทุก 3 เดือน
- เพร็พไม่ต้องกินตลอดชีวิต กินเฉพาะในช่วงที่มีความเสี่ยงสูง และสามารถพบแพทย์เพื่อหยุดกินเพร็พได้
การหยุดกินเพร็พ
ก่อนหยุดกินเพร็พต้องตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีก่อน
ถ้ากินเพร็พ อีกหน่อยจะดื้อยามั้ย?
กินเพร็พสม่ำเสมอ = ไม่ติดเชื้อ = ไม่ดื้อยา
ทำไมต้องย้ำจังเรื่องติดเชื้อระยะเฉียบพลัน?
ทำไมต้องย้ำจังเรื่องถุงยาง?
ถ้าติดเชื้อเอชไอวีแล้วแปลว่าต้องตาย?
ผู้ป่วยเอดส์จะต้องมีอาการแสดงของโรคเอดส์และได้รับการวินิจฉัยจากหมอแล้ว
เพราะถ้าเรารู้เร็วและดูแลรักษาร่างกายด้วยการรับยาต้านไวรัสได้เร็ว ร่างกายเราจะยังแข็งแรง สดใส และมีชีวิตที่ยืนยาวที่สำคัญไม่เป็นเอดส์ค่ะ ถึงเป็นเอดส์แล้วก็ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและกลับสภาพไปเป็นผู้มีเชื้อได้ หากเราดูแลตัวเองด้วยการไม่รับเชื้อเพิ่ม (ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง) ทานยาต้านไวรัสตรงต่อเวลาไม่หยุดหรือไม่ลืมทาน
สรุป: ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้เป็นแล้วตาย หากรู้เร็วก็จะรักษาได้เร็ว
ถ้าเป็นเอดส์ จะมีตุ่มหนองพุพองใช่มั้ย?
สรุป HIV ใช่เอดส์?
ผู้มีเชื้อเอชไอวีกับผู้ป่วยเอดส์แตกต่างกัน
ผู้ป่วยเอดส์จะต้องมีอาการแสดงของโรคเอดส์และได้รับการวินิจฉัยจากหมอแล้ว
สำหรับผู้มีเชื้อ บางคนอาจกินยาต้านไวรัส บางคนอาจไม่ต้องกินเพราะ CD4 ยังสูงอยู่
ทำอย่างไรจึงจะรู้เร็ว?
จะตรวจเมื่อไหร่ดี?
การตรวจเอชไอวีตามหน่วยบริการทางการแพทย์ทั่วไปเป็นการตรวจแอนติบอดี
ดังนั้นต้องรอเวลาให้ร่างกายผลิตแอนติบอดีให้เพียงพอต่อการตรวจเสียก่อน ระยะนี้เรียกว่าระยะไม่ปรากฎอาการ กินเวลาประมาณ 6 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการตรวจการติดเชื้อในระยะต้น ๆ (NAT) ซึ่งช่วยให้ทราบการติดเชื้อหลังรับเชื้อมา 1 สัปดาห์ หากรักษาด้วยยาไวรัสทันที อาจช่วยทำให้ระดับเชื้อลดลงจนตรวจไม่พบเลยได้ ตรวจเอชไอวีแบบนี้ได้ที่คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
ขั้นตอนการตรวจเป็นอย่างไร?
1. รับการปรึกษาก่อนการเจาะเลือด
2. เจ้าหน้าที่เจาะเลือด
3. รับการปรึกษาก่อนฟังผลเลือด
4. แจ้งผลเลือด พร้อมแนะนำให้มาตรวจเอชไอวีซ้ำเป็นระยะ หรือ ส่งต่อเข้าสู่บริการดูแลรักษาอื่น ๆ ที่จำเป็น
สิ่งสำคัญในการตรวจเอชไอวี คือ ผู้รับบริการเป็นคนตัดสินใจ ไม่บังคับ มีการพูดคุยก่อนเจาะเลือด และต้องแจ้งผลตรวจแก่ผู้รับบริการ ทุกขั้นตอนประกอบขึ้นเป็นคำว่า VCT หมายถึง การตรวจด้วยความสมัครใจพร้อมได้รับการปรึกษา
เอชไอวีกับเอดส์เหมือนกัน มั้ย?
ช่วงหลังรับเชื้อได้ 2 – 3 สัปดาห์ ปริมาณเชื้อไวรัสจะขึ้นสูงและแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง ค่าซีดี 4 จะลดลงอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ร่างกายจะปรับระดับได้ และค่าซีดี 4 สูงขึ้นพร้อมกดระดับเชื้อไวรัสให้ต่ำลง ซึ่งในระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ บางรายอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ (เพราะเชื้อแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง) และจะหายไปเอง ผู้ที่ได้รับเชื้อมาส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าตนได้รับการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีมาแล้ว และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่นได้ทันทีตั้งแต่ระยะแรกเริ่มติดเชื้อ
ผู้มีเชื้อที่ไม่มีอาการใด ๆ อาจเข้าสู่ระยะมีอาการที่สัมพันธ์กับเอดส์ได้ในระยะเวลาประมาณ 5–12 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพ การรับเชื้อเพิ่ม หรือการรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ระยะมีอาการจะเกิดขึ้นเมื่อระดับซีดี 4 ลดต่ำลงมากและปริมาณเชื้อไวรัสมีระดับสูง เมื่อระดับซีดี 4 ในร่างกายต่ำมาก ภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะเสื่อมลง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ จึงอาจมีอาการของเอดส์และเกิดโรคฉวยโอกาสเกิดขึ้นเมื่อระดับซีดี 4 ต่ำลงเรื่อยๆ
ระยะเวลาในการเกิดโรคฉวยโอกาสหรือการพัฒนาจากการมีเชื้อเอชไอวีไปสู่ระยะมีอาการที่สัมพันธ์กับเอดส์ขึ้นอยู่กับสุขภาพและการดูแลสุขภาพรายบุคคล บางรายอาจใช้เวลานานเกิน 10 ปี หรือบางรายอาจเกิดอาการภายในระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปีได้
จากข้อมูลเหล่านี้
ประเด็นสำคัญคืออะไร?....
เรามีวิธีรับมือกับเอชไอวีได้มากมาย
เราสามารถป้องกันไม่ให้ตนเองติดเชื้อเอชไอวีได้
หรือถ้ามีเชื้อเอชไอวีแล้วก็ป้องกันไม่ให้เป็นเอดส์ได้
ถ้าเป็นเอดส์แล้วก็ยังป้องกันไม่ให้เสียชีวิตและกลับมาเป็นผู้มีเชื้อที่แข็งแรงได้
ทั้งหมดนี้ เริ่มได้ด้วยการ “รู้สถานะให้เร็ว”
“รู้เร็ว ป้องกันรับเชื้อเอชไอวีสู่ร่างกาย ลดการติดเชื้อรายใหม่”
“รู้เร็ว ป้องกันการรับเชื้อเพิ่ม ดูแลตัวเองได้เร็ว ลดการตายจากเอดส์”
“รู้เร็ว รักษาได้เร็ว ไม่มีอาการของเอดส์ ลดการตีตราจากสังคม”
บางคนอาจเถียงว่าการรู้เร็วไม่ได้ช่วยให้คนมีพฤติกรรมการป้องกันหรอก เพราะถ้าไม่คิดจะป้องกันแล้วรู้สถานะไปก็ไม่ป้องกันอยู่ดี แต่แท้จริงแล้ว การตระหนักรู้ในสถานะการติดเชื้อนั้นช่วยให้เราหลุดพ้นจากความคลุมเครือไม่ชัดเจน ช่วยให้หายเครียดและกังวล ช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในการลดพฤติกรรมเสี่ยง
การรู้สถานะการติดเชื้อจะช่วยส่งเสริมให้เราวางแผนชีวิตและกำหนดพฤติกรรมของตัวเองได้ดีขึ้น หากรู้ว่าไม่มีเชื้อก็สามารถป้องกันให้คงผลเลือดลบไปตลอด หากพบว่ามีผลเลือดบวกก็จะสามารถรับการดูแลรักษาที่จำเป็นได้เร็ว ป้องกันไม่ให้รับเชื้อเพิ่มและไม่แพร่เชื้อไปยังคู่นอนด้วยการใช้ถุงยางอนามัย เมื่อผู้มีเชื้อได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีแล้ว ก็จะมีร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประเด็นสำคัญคืออะไร?....
เราสามารถป้องกันไม่ให้ตนเองติดเชื้อเอชไอวีได้
หรือถ้ามีเชื้อเอชไอวีแล้วก็ป้องกันไม่ให้เป็นเอดส์ได้
ถ้าเป็นเอดส์แล้วก็ยังป้องกันไม่ให้เสียชีวิตและกลับมาเป็นผู้มีเชื้อที่แข็งแรงได้
“รู้เร็ว ป้องกันการรับเชื้อเพิ่ม ดูแลตัวเองได้เร็ว ลดการตายจากเอดส์”
“รู้เร็ว รักษาได้เร็ว ไม่มีอาการของเอดส์ ลดการตีตราจากสังคม”
อย่างนี้ไม่ติดเชื้อ?
- ไม่ติดจากยุงหรือสัตว์
- จากการสัมผัสทั่วไปในชีวิตประจำวัน
- ด้วยน้ำลายหรือการจูบ
- จากการกินอาหารหรือใช้ภาชนะร่วมกัน
- จากการกอดกัน
- จากการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
- จากการไอจามรดกัน
- จากการสัมผัสทั่วไปในชีวิตประจำวัน
- ด้วยน้ำลายหรือการจูบ
- จากการกินอาหารหรือใช้ภาชนะร่วมกัน
- จากการกอดกัน
- จากการใช้ห้องน้ำร่วมกัน
- จากการไอจามรดกัน
เอชไอวีติดต่อทางไหนบ้าง?
1. เลือด
การใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับเลือดใดๆ ก็ตาม (เข็ม กระบอกฉีดยา มีด) ร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุเข็มตำ จะมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี
2. เพศ
เพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันทำให้มีการแลกเปลี่ยนสารคัดหลั่งระหว่างกัน ซึ่งเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. ครรภ์
ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีจะเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีประมาณ 30% ยิ่งถ้าคลอดแบบธรรมชาติและกินนมแม่ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อมากขึ้นเพราะทารกได้สัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อสู่ทารก คุณหมอมักจะให้คุณแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีกินยาต้านในระหว่างตั้งครรภ์
2. เพศ
3. ครรภ์
CD4 คืออะไร?
CD4 คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการสร้างสารภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
หากเปรียบร่างกายของเราเหมือนประเทศ ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่เหมือนศูนย์บัญชาการของทหารหรือกระทรวงกลาโหม ที่คอยคุ้มกันและสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานได้ และเพื่อดูแลคุ้มกันส่วนต่างๆของร่างกายได้ทั่วถึง ระบบภูมิคุ้มกันจะกระจายตัวเป็นต่อมน้ำเหลือง (lymph nodes) อยู่ตามจุดต่าง ๆ ตามรูป เหมือนค่าย ทหารเพื่อสะสมกำลังพล เมื่อต้องต่อสู้กับเชื้อโรคหรือข้าศึกที่เข้ามาในร่างกาย ค่ายทหารจะกระจายพลทหารหรือเม็ดเลือดขาวออกไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สารเคมี เป็นต้น
เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะเข้ายึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 เมื่อทหารของร่างกายตายลงไปเรื่อยๆ ร่างกายก็จะขาดกำลังพลในการรบและพ่ายแพ้ต่อเชื้อโรคได้ง่าย
มาเรียนรู้กลไกการติดเชื้อ หรือกระบวนการก่อการร้ายของเอชไอวีกันเถอะ
“ยึดเกาะ เจาะไข่ และสูบเลือดสูบเนื้อจากเซลล์เจ้าบ้าน” ถือเป็นคอนเซ็ปต์หลักในการทำงานของเอชไอวี เนื้อหาต่อไปนี้จะแสดงกลไกการติดเชื้อทั้ง 5 ขั้นตอน การเข้าใจถึงกลไกนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของยาต้านไวรัสแต่ละประเภทด้วย
1. เชื้อเอชไอวีเริ่มยึดเกาะเข้ากับผนัง CD4 โดยใช้หนามที่มีอยู่รอบ ๆ เซลล์แทงยึดที่เต้ารับของ CD4 จากนั้นจะเริ่มแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการติดเชื้อ
2. หลังจากที่ยึดเแน่นแล้ว เยื่อหุ้มเอชไอวีจะผสานเป็นหนึ่งเดียวกับเยื่อหุ้ม CD4 เมื่อเจาะเกราะหุ้ม CD4 ได้ เอชไอวีจะพุ่งเข้าไปในเซลล์ CD4 ทันที
3. เมื่อเข้าเซลล์ได้ รหัสพันธุกรรมของเอชไอวี (RNA) จะพุ่งสู่ใจกลางเซลล์ CD4 และก๊อบปี้ตัวเองขึ้นมา โดยขโมยโปรตีนของเซลล์ CD4 มาใช้ในการสร้างเนื้อตัวของลูกหลานตัวใหม่ เซลล์เอชไอวีรุ่นใหม่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าของเก่า
4. เมื่อได้ทุกสิ่งอย่างครบตามองค์ประกอบเดิมเอชไอวี ตัวใหม่ก็จะผุดออกมาจากเซลล์ CD4 โดยดึงเนื้อหนังมังสามาจากผนังของ CD4 มาสร้างเปลือก
5. กองทัพเอชไอวีถูกปล่อยออกมาจาก CD4 พร้อม ๆ กันหลายตัว การแบ่งตัวแบบทวีคูณนี้ทำให้เอชไอวีสามารถรวมกันเป็นขบวนการทำร้าย CD4 เซลล์อื่น ๆ ที่ยังแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว
หลังจากเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3-12 สัปดาห์ ร่างกายจะสังเคราะห์แอนติบอดี้ซึ่งเปรียบเหมือนตำรวจตรวจจับสิ่งแปลกปลอมออกมาเพื่อจะจับกุมเชื้อเอชไอวี แต่ก็สายไปแล้ว แอนติบอดี้ที่ร่างกายผลิตขึ้นมานี้ คือสารที่ตรวจเจอเวลาเราไปตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี
หลังจากโดนสูบเนื้อไปแล้ว CD4 จะเป็นอย่างไร
CD4 ที่ถูกเอชไอวีใช้ในการแบ่งตัวจะไม่สามารถทำงานเป็นทหารได้อีกต่อไป CD4 เหล่านั้นจะหมดสภาพและถูกทำลายไป ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรง: CD4 ที่ติดเชื้อจะเอชไอวีถูกขโมยเนื้อเยื่อและสารประกอบไปผลิตเอชไอวีตัวใหม่ และเมื่อลูกหลานของเอชไอวีจำนวนมากผุดออกมาจากเซลล์ CD4 ตัวนั้นจะตายลง เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในถูกทำลายอย่างหนัก หรือถ้ายังไม่ตายในทันทีก็จะหมดอายุและตายในเวลาต่อมา
ทางอ้อม: CD4 ที่ติดเชื้ออาจตั้งโปรแกรม ทำลายตัวเอง (Apoptosis) เมื่อระบบและกลไกการทำงานของเซลถูกรบกวนจากการผลิตลูกของเอชไอวี ผู้มีเชื้อส่วนใหญ่ จะมีเซลล์ Apoptosis ในกระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองจำนวนมากกว่าคนที่ไม่มีเชื้อ
เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะเข้ายึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 เมื่อทหารของร่างกายตายลงไปเรื่อยๆ ร่างกายก็จะขาดกำลังพลในการรบและพ่ายแพ้ต่อเชื้อโรคได้ง่าย
เอชไอวีคืออะไร?
เอชไอวี มีชื่อเต็มคือ Human Immunodeficiency Virus (HIV)
เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เมื่อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ จะทำลายเซลส์เม็ดเลือดขาวประเภทซีดี 4 (CD4) ซึ่งเป็นเซลภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นทหารต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆที่เข้ามาในร่างกายเมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีทำลายทหารในร่างกายของเราไปจำนวนมาก ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะเสื่อมจนทำให้โรคต่างๆแทรกซ้อนเข้ามาได้ง่าย เชื้อเอชไอวีจึงเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (Acquired Immuno Deficiency Syndrome - AIDS)
ภาษาอังกฤษวันละคำ:
Acquired = ได้รับ (การติดต่อ) มา แปลว่าไม่ใช่ภาวะผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด
Immuno = มาจากคำว่า Immune แปลว่าเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เมื่อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ จะทำลายเซลส์เม็ดเลือดขาวประเภทซีดี 4 (CD4) ซึ่งเป็นเซลภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นทหารต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆที่เข้ามาในร่างกายเมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีทำลายทหารในร่างกายของเราไปจำนวนมาก ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะเสื่อมจนทำให้โรคต่างๆแทรกซ้อนเข้ามาได้ง่าย เชื้อเอชไอวีจึงเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (Acquired Immuno Deficiency Syndrome - AIDS)
ภาษาอังกฤษวันละคำ:
Immuno = มาจากคำว่า Immune แปลว่าเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
PrEP การกินยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี
ตรวจสอบสิทธิได้ที่ไหน?
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัย) หรือโรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน
หรือตรวจสอบด้วยตัวเอง โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
(ค่าโทรครั้งละ 3 บาท)
www.nhso.go.th
![]() |
กินยาเป๊ป prep ยังไง |
![]() |
ผลเลือดบวกทำอย่างไร HIV positive |
![]() |
ผลเลือดลบอย่างไรให้ได้ตลอด HIV NEGATIVE |
![]() |
เชื้อ HIV ติอต่อทางไหนได้บ้าง |
![]() |
ถุงยางแตกทำไง |
![]() |
วิธีการตรวจเลือด HIV ขั้นตอนการตรวจเลือดเอดส์ |
![]() |
เครียดมาก ทำไงดี เย็ดสดมา แตกใน ไม่ทันใส่ถุง จะติดเชื้อ HIV ไหม |
![]() |
ตรวจ HIV ได้ที่ไหน ที่ไหนฟรีบ้าง |
![]() |
เอดส์ ต่างไงกับ HIV |
![]() |
การเลือกใช้ถุงยางอนามัย |
![]() |
ยาฉุกเฉิน HIV PREP เป๊ป |
![]() |
เรื่องน่ารู้ ยาต้านไวรัสเอชไอวี คืออะไร |
![]() |
PREP เพร็พ คืออะไร |
![]() |
อาการติดเชื้อเอชไอวี เฉียบพลัน ควรทำอยางไร |
![]() |
กล้าที่จะตรวจหาเชื้อ HIV |
![]() |
HIV ตรวจเร็ว รักษาได้ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น